วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ระบบผิวหนัง


ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย
(Integumentary system)


bg45.gif
sk_anat.gif

 ระบบผิวหนัง


มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุดของร่างกายปกคลุมห่อหุ้มร่างกายทั้งหมดของเราไว้ผิวหนังของผู้ใหญ่คน หนึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางนิ้ว มีความหน
ประมาณ 1 – 4 มิลลิเมตรโดยความหนาของผิวหนังจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และบริเวณที่ถูกเสียดสีโดยผิวหนังส่วนที่หนาที่สุด ของร่างกายคือ บริเวณฝ่ามือ และฝ่าเท้าส่วนผิวหนังส่วนที่บางที่สุดของร่างกาย คือบริเวณหนังตา และหนังหู ภายในผิวหนังนั้นมีปลายประสาทรับรู้ความรู้สึกอยู่มากมายเพื่อรับรู้การสัมผัสความเจ็บปวด และอุณหภูมิร้อนเย็นต่าง ๆ นอกจากนี้บนผิวหนังยังมีรูเล็ก ๆ ซึ่งเรียกว่า รูขุมขน ซึ่งเป็นรูเปิดของขุมขน ท่อต่อมไขมันและต่อมเหงื่อผิวหนัง สามารถยืดหยุ่นได้มาก และผิวหนังบนร่างกาย
ส่วนใหญ่สามารถเลื่อนไปเลื่อนมาได้แต่ก็มีบางส่วนที่ติดแน่นกับอวัยวะ เช่น หนังศีรษะด้านนอกของใบหูฝ่ามือ และฝ่าเท้าและตามรอยพับของข้อต่อต่าง ๆนอกจากนี้ผิวหนังบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้าจะมีรอยนูนอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะปลายนิ้วมือจะมีสันนูนเรียงกันเป็น ร้อยหวาย หรือรอยก้นหอย ซึ่งรอยนี้จะต่างแตกกันออกไปในแต่ละบุคคล และบริเวณผิวหนังทีกล้ามเนื้อเกาะอยู่ จะเกิดเป็นรอยย่นได้เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการหดตัว เช่นบริเวณใบหน้ามีกล้ามเนื้อยึดติดที่ผิวหนังมากเมื่อแสดอารมณ์โกรธ กลัว ยิ้มแย้มแจ่มใส หรือเศร้าหมองจะทำให้เกิดร่องรอยบนผิวหนังอย่างเห็นได้ชัด

โครงสร้างของผิวหนัง

ผิวหนังของคนเราแบ่งออกได้เป็น 2 ชั้น คือ หนังกำพร้าและหนังแท้

1. หนังกำพร้า (Epidermis)
เป็นผิวหนังที่อยู่ ชั้นบนสุด มีลักษณะบางมาก ประกอบไปด้วยเชลล์ เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆโดยเริ่มต้นจากเซลล์ชั้นในสุด ติดกับหนังแท้ ขึ่งจะแบ่งตัวเติบโตขึ้นแล้วค่อยๆ เลื่อu มาทดแทนเขลล์ที่อยู่ชั้นบนจนถึงชั้นบนสุด แล้วก็ กลายเป็นขี้ไคลหลุดออกไปนอกจากนี้ในชั้นหนังกำพร้ายังมีเซลล์ เรียกว่า เมลานิน ปะปนอยู่ด้วย เมลานินมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบุคคลและเชื้อชาติ จึงทำให้สีผิวของคนแตกต่าง กันไป ในชั้นของหนังกำพร้าไม่มีหลอดเลือดเส้นประสาท และต่อมต่างๆ นอกจากเป็นทางผ่านของรูเหงื่อ เส้นขน และไขมันเท่านั้น

2.หนังแท้ (Dermis)
เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นล่าง ถัดจากหนังกำพร้า และหนากว่าหนังกำพร้ามาก ผิว หนังชั้นนี้ประกอบไปด้วยเนี้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) หลอดเลือดฝอย เส้นประสาทกล้ามเนื้อเกาะเส้นขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และขุม ขนกระจายอยู่ทั่วไป




.jpg



หน้าที่ของผิวหนัง



1. ป้องกันและปกปิดอวัยวะภายในไม่ให้ได้รับ อันตราย

2. ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกายโดยง่าย

3. ขับของเสียออกจากร่างกาย โดยต่อมเหงื่อ ขับเหงื่อออกมา

4. ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดย ระบบหลอดเลือดฝอยและการระเหยของเหงื่อ

5. รับความรู้สึกสัมผัส เช่น ร้อนหนาว เจ็บ ฯลฯ

6. ช่วยสร้างวิตามินดีให้แก่ร่างกาย โดยแสง แดดจะเปลี่ยนไขมันชนิดหนึ่งที่ผิวหนังให้เป็นวิตามินดีได้

7. ขับไขมันออกมาหล่อเลี้ยงเส้นผม และขน ให้เป็นเงางามอยู่เสมอและไม่แห้ง


13.jpg


การดูแลรักษาผิวหนัง


ทุกคนย่อมมีความต้องการมีผิวหนังที่สวยงาม สะอาด ไม่เป็นโรคและไม่เหี่ยวย่นเกินกว่าวัย ฉะนั้นจึงควรดูแลรักษาผิวหนังตัวเอง ดังนี้

1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ โดย

1.1 อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในเวลาเช้าและเย็น เพื่อช่วยชำระล้างคราบเหงื่อไคล และความสกปรกออกไป

1.2 ฟอกตัวด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ

1.3 ทำความสะอาดให้ทั่ว โดยเฉพาะบริเวณใต้รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับ อวัยวะเพศ ง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า ใต้คาง และหลังใบหู เพราะเป็นที่อับและเก็บความชื้น อยู่ได้นาน

1.4 ในขณะอาบน้ำ ควรใช้นิ้วมือ หรือฝ่ามือ ถูตัวแรงๆ เพราะนอกจากช่วยให้ร่างกายสะอาดแล้ว ยังช่วยให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น

1.5 เมี่ออาบน้าเสร็จ ควรใช้ผ้าเช็ดตัวที่ สะอาด เช็ดตัวให้แห้ง แล้วจึงค่อยสวมเสื้อผ้า

2. หลังอาบน้ำแล้ว ควรใส่เสื้อผ้าที่สะอาด และเหมาะสมกับอากาศและงานที่ปฏิบัติ เช่น ถ้าอากาศ ร้อนก็ควรใส่เสื้อผ้าบาง เพื่อไม่ให้เหงื่อออกมาก เป็นต้น

3. กินอาหารให้ถูกต้องและครบถ้วนตามหลัก โภชนาการ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ เช่น พวก น้ำมันตับปลา ตับสัตว์ เนย นม ไข่แดง เครื่องในสัตว์ มะเขือเทศ มะละกอ รวมทั้งพืชใบเขียวและใบเหลือง วิตามินเอ จะช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น ไม่เป็นสะเก็ด แห้ง ทำให้เล็บไม่เปราะ และยังทำให้เส้นผมไม่ร่วงง่ายอีกด้วย

4. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อทำให้ผิวหนังเปล่งปลั่ง

5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้การ หมุนเวียนของเลือดดีขึ้u

6. ควรให้ผิวหนังได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ โดย เฉพาะเวลาเช้าซึ่งแดดไม่จัดเกินไป และพยายามหลีก เลี่ยงการถูกแสงแดดจ้า เพราะจะทำให้ผิวหนังเกรียม และกร้านดำ

7.ระมัดระวังโนการใช้เครื่องสำอาง เพราะ อาจเกิดอาการแพ้ หรือทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็น อันตรายต่อผิวหนังได้ หากเกิดอาการแพ้ต้องเลิกใช้ เครื่องสำอางชนิดนั้นทันที

8. เมื่อมีสิ่งผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นกับผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์

ระบบหายใจ

เรื่องระบบหายใจ

1. ความหมายของระบบหายใจ


Picture

การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องใช้แก๊สออกซิเจนซึ่งคนเราได้รับแก๊สออกซิเจนจากการหายใจเข้า ถ้าร่างกายขาดแก๊สออกซิเจนไปเพียง 2 - 3 นาที ก็จะทำให้ถึงตายได้





 ระบบการหายใจ (respiratory  system)     
          

          
            ระบบการหายใจ คือ ระบบที่ประกอบด้วยอวัยวะเกี่ยวข้องกับการหายใจ เป็นการนำอากาศเข้าและออกจากร่างกายส่งผลให้แก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหาร ได้พลังงาน น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ กระบวนการหายใจเกิดขึ้นกับทุกเซลล์ตลอดเวลา การหายใจจำเป็นต้องอาศัย โครงสร้าง 2 ชนิดคือ กล้ามเนื้อกะบังลม และกระดูกซี่โครง ซึ่งมีกลไกการทำงานของระบบหายใจ ดังนี้


Picture



 กลไกการทำงานของระบบหายใจ
            1.) การหายใจเข้า (Inspiration) กะบังลมจะเลื่อนต่ำลง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนสูงขึ้น ทำให้ปริมาตรของช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดลดต่ำลงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายนอกจึงเคลื่อนเข้าสู่จมูก หลอดลม และไปยังถุงลมปอด


Picture


2.) การหายใจออก (Expiration) 

                กะบังลมจะเลื่อนสูง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดสูงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดไปสู่หลอดลมและออกทางจมูก


Picture

2. อวัยวะเกี่ยวกับการหายใจ

                         มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้


1.จมูก(Nose)
Picture

          จมูก    เป็นทางผ่านของอากาศด่านแรก ประกอบด้วยโครงสร้างรูปสามเหลี่ยมของกระดูกและกระดูกอ่อน ผิวด้านนอกปกคลุมด้วยผิวหนัง ส่วนผิวด้าน  ในบุด้วยเยื่อเมือก (Mucous membrane) มีช่องเปิดของช่องจมูกอยู่ 2 ช่อง แยกจากกันโดยผนังกั้น (Septum) ภายในเยื่อเมือกจะมีต่อมน้ำมันทำหน้าที่เป็นด่านป้องกัน   ฝุ่นละอองไม่ให้ลงไปสู่ปอด ช่องจมูกในส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนจะเป็นพื้นที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น ส่วนล่างจะเป็นทางผ่านของอากาศ โดยมีส่วนของกระดูกเอทมอยด์ (Ethmoid)และกระดูกคอนคี ส่วนล่าง (Inferior conchae) ยื่นออกมา 3 อัน เพื่อให้อากาศผ่านเข้าไปได้มาก และระหว่างกระดูกที่ยื่นออกมานี้ จะมีร่องเนื้อแดง (Metus) ซึ่งเป็นทางผ่านของอากาศ และมีอยู่ข้างละ 3 อัน ภายในร่องเนื้อแดงจะมีช่องเปิดของโพรงอากาศ (Air sinus) ในกะโหลกศีรษะ ซึ่งมีอยู่ 4 แห่งด้วยกันคือ โพรงอากาศที่โหนกแก้ม (Maxilla sinus) ที่หน้าผาก (Forntal sinus) ที่ดั้งจมูก (Ethmoid sinus) และที่กระดูกสฟินอยด์ (Sphenoid sinus) จมูกนอกจากทำ   หน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศไปสู่ปอดแล้ว ยังทำหน้าที่รับกลิ่น ช่วยทำให้เสียงชัดเจน  อากาศชุ่มชื้นและกรอง   ฝุ่นละออง นอกจากนี้ยังมีท่อน้ำตา (Naso-lacrimal duct) มาเปิดที่หัวตาอีกด้วย



2.) หลอดคอ (Pharynx)
Picture
       

 หลอดคอ หรือ คอหอย   เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากจมูกและปาก เป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 นิ้ว มีลักษณะคล้ายกรวย    หลอดคอ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ               1)  คอหอยส่วนที่อยู่ติดต่อกับจมูก (Naso-pharynx) เป็นทางผ่านของอากาศอย่างเดียว ที่ส่วนนี้จะมีช่องไปติดต่อกับหูส่วนกลาง เรียกช่องนี้ว่า หลอดยูสเตเชียน (Eustachian’s tube)               2)  คอหอยส่วนที่อยู่ติดกับปาก (Oro-pharynx) เป็นทางผ่านของอาหารและอากาศ              3)  คอหอยส่วนที่อยู่ติดกับกล่องเสียง (Laryngo-pharynx) เป็นทางผ่านของอากาศอย่างเดียว


 3.) หลอดเสียง (Larynx)

Picture
Picture
     

                  หลอดเสียง หรือ กล่องเสียง (Larynx) เป็นอวัยวะพิเศษ  ลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชายทำหน้าที่เป็นทางเดินอากาศ ตั้งอยู่ส่วนบนด้านหน้าคือบริเวณลูกกระเดือก (Adam’s apple) ด้านหน้าของหลอดอาหารประกอบด้วยกระดูกอ่อนทั้งชนิดใสและชนิดยืดหยุ่น 9 ชิ้นด้วยกัน ยึดติดกันด้วยเอ็นยึดข้อต่อและกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อนต่างๆ ได้แก่1 กระดูกอ่อนไทรอยด์ (Thyroid Cartilage) เป็นกระดูกอ่อนชิ้นใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยกระดูกอ่อนแผ่นสี่เหลี่ยม 2 แผ่นมาประกบกันเป็นลูกกระเดือก2 กระดูกอ่อนคริคอยด์ (Cricoid Cartilage) รูปร่างเหมือนวงแหวน ริมล่างจะติดต่อกับหลอดลม3 ฝาปิดกล่องเสียง (Epiglottis) เป็นกระดูกอ่อนยืดหยุ่น มีรูปร่างคล้ายใบไม้ ยึดติดกับกระดูกอ่อนไทรอยด์ เมื่อเวลากลืนอาหารลงไป ฝาปิดกล่องเสียงจะปิด เพื่อไม่ให้อาหารตกลงไป4 กระดูกอ่อนอาริทีนอยด์ (Arytenoid Cartilage) อยู่ส่วนบนของกระดูกอ่อนคริคอยด์ ซึ่งจะเป็นที่ยึดปลายข้างหนึ่งของสายเสียง (Vocal cord) ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งจะยึดติดกับกระดูกอ่อนไทรอยด์


4.) หลอดลม (Trachea)

Picture
      

                 หลอดลม (Trachea) อยู่ด้านหน้าของหลอดอาหาร ตอนบนจะติดอยู่กับกระดูกอ่อนคริคอยด์ ปลายล่างจะอยู่ในระดับกระดูกสันหลังระดับอกชิ้นที่ 5 (T5) หลอดลมยาวประมาณ 4.5 นิ้ว ส่วนประกอบของหลอดลมประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปครึ่งวงกลม 16-20 ชิ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้หลอดลมแฟบได้ง่าย และทำให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวก ฝาปิดกล่องเสียงก็สามารถขยายตัวได้ สะดวกในการกลืนอาหาร ทั้งกล่องเสียงและหลอดลมภายในจะบุด้วยเยื่อเมือกและมีขน (Cilia) ซึ่งจะขับเมือกออกมาคอยดักฝุ่นละอองหรือสิ่งที่หายใจปนไปกับอากาศเอาไว้หลอดลมขั้วปอด (Bronchi) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากหลอดลม แยกออกเป็น 2 ข้าง คือ ซ้ายและขวา โดยข้างขวาจะสั้นกว่า กว้างกว่า และอยู่ในแนวดิ่งมากกว่าข้างซ้าย โรคต่างๆ เช่น วัณโรค ปอดปวม จึงมักจะเกิดกับข้างขวามากกว่าข้างซ้าย หลอดลมขั้วปอดนี้จะทอดเข้าสู่ปอดข้างขวาและซ้าย แตกแขนงออกเป็นแขนงเล็กๆ เป็นหลอดลมในปอด (Bronchioles)หลอดลมขั้วปอดมีส่วนประกอบเหมือนหลอดลม แต่มีขนาดเล็กกว่าและผนังก็จะบางลงไปเรื่อยๆ จนถึงขนาดเล็กและไม่มีกระดูกอ่อนเหลืออยู่ คงมีชั้นกล้ามเนื้อบางๆ ที่ปลายหลอดลมในปอดจะมีถุงลม (Alveoli)รวมกันอยู่เป็นพวงซึ่งเป็นที่แลกเปลี่ยนอากาศ ทั้งนี้เพราะที่ผนังถุงลมจะมีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงมาก


5.) ปอด (Lung)

Picture
               

        ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลังฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม  ระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน  หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ     





6.) เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
   

         เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด



3.  กระบวนการทำงานของระบบการหายใจ            

               การแลกเปลี่ยนแก๊สที่ถุงลม                     อากาศเมื่อเข้าสู่ปอดจะไปอยู่ในถุงลม ซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายลูกองุ่น ซึ่งปอดต่ละข้างจะมีถุงลมข้างละ 150 ล้านถุง แต่ะถุงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 0.1 มิลลิเมตร ถุงลมทุกอันจะมีหลอดเลือดฝอยมาห่อหุ้มไว้ การแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน และไอน้ำ ผ่านเข้าออกถุงลมโดยผ่านเยื่อบางๆของถุงลม    เลือดจากหัวใจมาสู่ปอด เป็นเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูง เมื่อมาสู่ถุงลมจะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยออกซิเจนในถุงลมจะแพร่เข้าสู่เส้นเลือด ขณะเดียวกันคาร์บอนไดออกไซด์ในเส้นเลือดจะแพร่เข้าสู่ถุงลม แล้วขับออกทางลมหายใจออก


                                                                                       ภาพที่ 1
Picture



ภาพที่ 2
Picture


ภาพที่ 3
Picture



4.  การดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจ

1.)  รักษาสุขภาพให้ดี  โดยการ รับประทานอาหาร  พักผ่อน  และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ2.)  แต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ  เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อป้องกันการเป็นหวัด3.)  หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ4.)  ปิดปากและจมูกเวลาไอ  หรือจาม5.)ไม่ใช้สิ่งของปนกับผู้อื่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ6.)  อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์  ไม่อับชื้นแออัด โดยเฉพาะสถานที่ที่มีควันบุหรี่  เพราะควันบุหรี่มีก๊าซพิษ คือไนโตรเจนไดออกไซด์  ทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพอง7.)  ระวังการกระแทกอย่างแรงกับอวัยวะการหายใจ ได้แก่หน้าอก และปอด8.)  ไม่เลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ไว้ในบ้าน เพราะขนสัตว์ก่อให้เกิดโรค

5. โรคของระบบการหายใจ และองค์ประกอบอื่น ๆที่มีผลต่อการหายใจ

โรคของระบบการหายใจ1. โรคถุงลมโป่งพอง ( ephysema)                  โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่เนื้อปอดถูกทำลาย ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ หอบเหนื่อย หายใจลำบากสาเหตุของโรค สาเหตุของถุงลมโป่งพอง ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ การสูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังอาจเกิดจาก การสูดดมสิ่งที่เป็นพิษ เช่น มลภาวะ ไอเสีย ฝุ่น สารเคมี เป็นระยะเวลานาน ๆ

Picture
2. โรคปอดจากการทำงาน

        โรคปอดดำ (Anthracosis) เกิดจากการสะสมผงถ่านคาร์บอนในปอดปริมาณมาก ซิลิโคซีส (Silicosisi) เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นของซิลิคอนไดออกไซด ์(Sillicon dioxide) เข้าไป ( silica ซิลิกา   สารประกอบชนิดหนึ่ง  สูตรเคมีคือ  SiO2 จุดหลอมเหลว  1,700 oC จุดเดือด  2,230 oC  เป็นของแข็งไม่มีสีมีโครงสร้างผลึก 5 รูปแบบ ในธรรมชาติอยู่ในรูปของทราย  คอวตซ์และหินบางชนิดใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ผงขัด  วัสดุทนไฟ และผลิตภัณฑ์เซรามิก  เป็นต้น)

แอสเบสโตซีส (Asbestosis) ซึ่งเกิดขึ้นจากการหายใจเอาฝุ่นในโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีกลิ่นและฝุ่นของสีน้ำยาเคลือบเงา 



Picture

       3. โรคหืด คือ โรคของหลอดลมที่มีการตีบหรืออุดตันอันเนื่องมาจากมีการอักเสบของหลอดลม มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม มีเสมหะที่เหนียวออกมามาก


โรคหืด มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ

 1.หลอดลมที่มีการตีบหรืออุดตันเป็นๆหายๆการตีบหรืออุดตันเกิดจาก กล้าเนื้อหลอดลมหดตัว เยื่อบุบวม มีการอักเสบ เสมหะมาก 2.มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมร่วมด้วย 3.หลอดลมมีสภาพไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น ควันต่างๆ กลิ่นที่แรง สารก่อภูมิแพ้


การไอ การจาม การหาวและการสะอึก 

อาการที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ  มีดังนี้ 1. การจาม เกิดจากการหายใจเอาอากาศที่ไม่สะอาดเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจึงพยายามขับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกมานอกร่างกาย โดยการหายใจเข้าลึกแล้วหายใจออกทันที  2. การหาว เกิดจากการที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในเลือดมากเกินไป จึงต้องขับออกจากร่างกาย โดย การหายใจเข้ายาวและลึก เพื่อรับแก๊สออกซิเจนเข้าปอดและแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือด  3. การสะอึก เกิดจากกะบังลมหดตัวเป็นจังหวะๆ ขณะหดตัวอากาศจะถูกดันผ่านลงสู่ปอดทันที ทำให้สายเสียงสั่น เกิดเสียงขึ้น  4. การไอ เป็นการหายใจอย่างรุนแรงเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในกล่องเสียงและหลอดลม ร่างกายจะมี การหายใจเข้ายาวและหายใจออกอย่างแรง .

ระบบย่อยอาหาร


ระบบการย่อยอาหารหรือระบบทางเดินอาหาร


ระบบนี้รวมอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยววกับการรับอาหาร การย่อยและการดูดซึมอาหาร
และการขับถ่ายกากอาหารที่ไม่ย่อยยาวตั้งแต่ปากถึงทวารหนักประมาณ ๙ เมตร อวัยวะต่างๆ
เรียงตามลำดับคือ ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
 นอกจากนั้นยังรวมต่อมต่างๆ ซึ่งเปิดเข้าสู่ปาก ได้แก่ ต่อมน้ำลาย และเปิดเข้าสู่ลำไส้เล็ก
ได้แก่ ตับและตับอ่อน ต่อมต่างๆ เหล่านี้ช่วยในการย่อยอาหาร ส่วนปากและคอหอย
 ยังใช้สำหรับการหายใจอีกด้วย
แผนภาพแสดงระบบทางเดินอาหาร
แผนภาพแสดงระบบทางเดินอาหาร
ปาก

ลักษณะเฉพาะพิเศษของปากของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็คือ ริมฝีปากและแก้ม เคลื่อนไหวได้
 เพื่อเป็นปากที่ดูดได้
ปากเป็นส่วนต้นของระบบการย่อยอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการย่อย
 โดยการเคี้ยวให้อาหารมีขนาดเล็กลง การรับรู้รส และการหลั่งน้ำลาย นอกจากนั้น
 ในคนยังใช้ในการพูดคุยด้วย
ปาก แสดงให้เห็นฟัน เหงือก และช่องปาก
ปาก แสดงให้เห็นฟัน เหงือก และช่องปาก
ปากแบ่งได้เป็น ๒ ส่วน คือ

๑. ช่องกระพุ้งปาก หรือกระพุ้งแก้ม เป็นช่องระหว่างแก้มและริมฝีปากทางด้านนอก
 กับฟันและเหงือก ทางด้านในมีท่อน้ำลายพาโรติดมาเปิดสู่กระพุ้งแก้ตรงระดับฟังกรามบนซี่ที่สอง

๒. ช่องปากแท้ อยู่ลึกกว่าฟันและเหงือก ต่อกับคอหอยส่วนปาก

ริมฝีปาก 

ภาษาชาวบ้านหมายถึง ขอบปากสีแดงเท่านั้น แต่ทางกายวิภาคศาสตร์หมายถึง
บริเวณตั้งแต่ผิวหนังถึงเยื่อเมือกด้านในที่ต่อกับเหงือก และปากสีแดงเป็นส่วนหนึ่งของริมฝีปากเท่านั้น
 ภายในริมฝีปากประกอบด้วยกล้ามเนื้อลาย ด้านนอกเป็นผิวหนัง ด้านในเป็นเยื่อเมือก
และขอบปากสีแดง ริมฝีปากจึงเคลื่อนไหวได้
ศีรษะผ่าซีก แสดงให้เห็นอวัยวะต่างๆ ภายใน
ศีรษะผ่าซีก แสดงให้เห็นอวัยวะต่าง ๆ ภายใน
แก้ม

มีลักษณะเช่นเดียวกับริมฝีปาก ประกอบด้วยกล้ามเนื้อลาย ด้านนอกเป็นผิวหนัง
 ด้านในเป็นเยื่อเมือกบุจนถึงบริเวณเหงือก

การเคลื่อนไหวของริมฝีปากและแก้ม จำเป็นสำหรับการเคี้ยว
 เพื่อบังคับให้อาหารในกระพุ้งแก้มไปอยู่ระหว่างฟัน

ฟัน

ในผู้ใหญ่มีฟันถาวร ๓๒ ซี่ ฟันบนข้างละ ๘ ซี่ และฟันล่างข้างละ ๘ ซี่ แต่ละข้างมีฟันตัดข้างละ ๒ ซี่
ฟันเขี้ยว ๑ ซี่ ฟันหน้ากราม ๒ ซี่ และฟันกราม ๓ ซี่ เรียงตามลำดับจากหน้าไปหลัง

ในทารก มีฟันน้ำนม ๒๐ ซี่ ฟันบนข้างละ ๕ ซี่ ฟันล่างข้างละ ๕ ซี่ แต่ละข้างมีฟันตัด ๒ ซี่ ฟันเขี้ยว ๑ ซี่
และฟันกราม ๒ ซี่

ในปากของเด็กแรกเกิดไม่มีฟัน เมื่ออายุ ๖ เดือน จึงจะมีฟันน้ำนมซี่แรกงอกขึ้นมาให้เห็น
และปลายปีที่สอง ฟันน้ำนมจึงขึ้นครบทุกซี่ เมื่ออายุ ๖ ปี มีฟันถาวรอันแรกปรากฎขึ้นคือ
 ฟันกรามซี่ที่ ๑ แล้วต่อไปฟันน้ำนมทั้ง ๑๐ ซี่จะค่อยๆ หลุดไป และมีฟันถาวรงอกขึ้นมาแทนที่ทีละซี่
ฟันของขากรรไกรล่างงอกก่อนฟันของขากรรไกรบน ฟันถาวรทั้งหมดจะงอกหมด
ในปลายปีที่ ๑๒ หรือ ๑๓ ยกเว้นฟันกรามซี่สุดท้าย ซึ่งมักจะงอกขึ้นระหว่างอายุ ๑๘-๒๔ ปี
บางทีจึงเรียกว่า ฟันฉลาด

ช่องปากแท้ 

มีขอบเขตดังนี้ ด้านบน เป็นเพดานปาก ซึ่งประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ เพดานแข็ง อยู่ที่ส่วนหน้า ๒/๓
 โดยมีกระดูกเป็นแกนภายใน เพดานอ่อนอยู่ที่ส่วนหลัง ๑/๓ โดยมีพังผืดขาว
และกล้ามเนื้อลายอยู่ภายใน ตรงปลายสุดของเพดานอ่อนเป็นติ่ง เรียกว่า ลิ้นไก่ (uvula)
จากลิ้นไก่มีรอยนูนของเยื่อเมือก มายังขอบข้างของลิ้น รอยนูนนี้ถือว่า
เป็นแนวแบ่งระหว่างช่องปากแท้ กับคอหอย ด้านล่างของช่องปากเป็นลิ้น
 และใต้ลิ้นเป็นกล้ามเนื้อที่ประกอบเป็นพื้นของปาก

ลิ้น

ประกอบด้วยกล้ามเนื้อลายเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีเยื่อเมือกคลุมด้านบน และด้านข้างของกล้ามเนื้อ
 เยื่อเมือกที่คลุมด้านบนของลิ้นไม่เรียบ ยื่นขึ้นมา เป็นปุ่มแหลม ปุ่มรูปดอกเห็ดแต่ละปุ่ม
 มีร่องซึ่งมีเซลล์รับรสอยู่โดยรอบ ลิ้นมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคี้ยว การกลืน และการรับรส
 ในคนยังใช้พูดด้วย

ต่อมน้ำลาย 

มีต่อมใหญ่ ๓ ต่อม คือ

๑. ต่อมน้ำลายพาโรติด (parotid) เป็นต่อมน้ำลายที่ใหญ่ที่สุด
อยู่ที่ด้านข้างของใบหน้าระหว่างหูกับคาง
มีท่อไปเปิดสู่กระพุ้งแก้ม

๒. ต่อมน้ำลายใต้คาง ขนาดเล็กกว่า อยู่ใต้กระดูกคางทั้งสองข้าง
 มีท่อไปเปิดสู่ช่องปากแท้ตรงระหว่างใต้ปลายลิ้นกับพื้นปาก

๓. ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น ขนาดเล็กที่สุด อยู่ใต้เยื่อเมือกของปาก ที่สองข้างลิ้น มีท่อเล็กๆ
 หลายท่อเปิดสู่ช่องปากแท้
ภาพตัดตามยาวของกระดูกขากรรไกรล่าง แสดงให้เห็นต่อมน้ำลายต่าง ๆ
ภาพตัดตามยาวของกระดูกขากรรไกรล่าง แสดงให้เห็นต่อมน้ำลายต่าง ๆ
คอหอย 

อยู่หน้ากระดูกสันหลังส่วนคนอันที่ ๑ ถึง ๖ นับตั้งแต่ฐานกะโหลกศีรษะ
ถึงด้านหน้าของกระดูกสันหลังส่วนคนอันที่ ๖ โป่ง คล้ายรูปกรวยยาว ๑๓ เซนติเมตร
 ส่วนบนกว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ส่วนล่างแคบ ๑.๕ เซนติเมตร ซึ่งไปต่อกับหลอดอาหาร

ผนังประกอบด้วยกล้ามเนื้อลาย ด้านในบุด้วยเยื่อเมือกทางข้างหน้า ติดต่อกับโพรงจมูก ช่องปาก
 และกล่องเสียงจากบนลงล่างตามลำดับ จึงแบ่ง ได้เป็น ๓ ส่วน

๑. คอหอยส่วนจมูก อยู่หลังโพรงจมูก เป็นทางผ่านของลมหายใจ

๒. คอหอยส่วนปาก อยู่หลังช่องปาก ต่ำกว่าเพดานอ่อน ที่ด้านข้างของคอหอยส่วนนี้
 มีต่อมทอนซิล (tonsil) อยู่ ซึ่งมักได้รับเชื้อจุลินทรีย์ จึงอักเสบได้ง่าย คอหอยส่วนนี้
 เป็นทางผ่านทั้งอากาศหายใจ และทางผ่านของอาหาร

๓. คอหอยส่วนกล่องเสียง อยู่รอบๆ และหลังกล่องเสียงทั้งหมด เป็นส่วนที่ยาวที่สุด
 และแคบลงเรื่อยๆ จนต่อกับหลอดอาหาร เป็นทางผ่านของอาหารสู่หลอดอาหาร
และเป็นทางผ่านของลมหายใจสู่กล่องเสียง

หลอดอาหาร 

หลอดอาหารยาว ๒๓-๒๕ เซนติเมตร ต่อจากคอหอยผ่านคอ ทรวง อก แล้วทะลุบังลม
 ไปเปิดสู่กระเพาะอาหารทอดอยู่ในแนวกลางของลำตัว อยู่ด้านหน้ากระดูกสันหลัง

ทางเดินอาหารจากกล่องเสียงถึงหลอดลมย่อยสู่ปอดและจากหลอดอาหารถึงดูโอดินัมทางเดินอาหารจากกล่องเสียง
ถึงหลอดลม
ย่อยสู่ปอด และจากหลอดอาหาร
ถึงดูโอดินัม

ผนังของหลอดอาหารส่วนใหญ่เป็นกล้ามเนื้อ ส่วนบน ๑ ใน ๓ เป็นกล้ามเนื้อลายอย่างเดียว
 ส่วนกลาง ๑ ใน ๓ เป็นกล้ามเนื้อลายปน กับกล้ามเนื้อเรียบ และส่วนล่างอีก ๑ ใน ๓
เป็นกล้ามเนื้อเรียบอย่างเดียว

กระเพาะอาหาร 

อยู่ระหว่างปลายของหลอดอาหารกับส่วนต้นของลำไส้เล็ก เป็นที่รับอาหาร และหลั่งน้ำย่อยอาหาร
 ซึ่งจะมีปฎิกิริยากับอาหารทำให้อาหารเป็นของเหลวเหนียวๆ แล้วส่งของเหลวเหนียวๆ
 นี้ไปยังลำไส้เล็ก
อวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องท้อง
อวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องท้อง
กระเพาะอาหารอยู่ในส่วนบนของช่องท้อง เหนือระดับสะดือ ปลายบนกว้าง
ปลายล่างเรียวแคบทอดลงล่างไปทางขวา ซึ่งปลายสุดมีกล้ามเนื้อหูรูดหนา รูปร่าง
 และตำแหน่งของกระเพาะอาหารแตกต่างกันในบุคคลต่างๆ เช่น คนอ้วน คนผอม
 แม้ในคนเดียวกันก็ยังแตกต่างกันในภาวะต่างๆ เช่น มีอาหารในกระเพาะอาหารมากหรือน้อย
 ขนาดและตำแหน่งของอวัยวะใกล้เคียง แม้ในท่ายืน และท่านอนก็ทำให้รูปร่าง
และตำแหน่งของกระเพาะอาหารเปลี่ยนแปลงไป

เยื่อเมือกของกระเพาะอาหารมีต่อมสร้างกรดเกลืออ่อนๆ และน้ำ ย่อยอาหารประเภทโปรตีน
ทางเดินอาหารภายในช่องท้อง
ทางเดินอาหารภายในช่องท้อง
ลำไส้เล็ก 

แบ่งได้เป็น ๓ ส่วน คือ ดูโอดีนัม (duodenum) เจจูนัม (jejunum) และอิเลอัม (ileum)

ดูโอดีนัม ยาวประมาณ ๒๒.๕ เซนติเมตร เป็นส่วน ต้น และกว้างที่สุดของลำไส้เล็ก
 กว้าง ๔-๕ เซนติเมตร ยกเว้น ๒.๕ เซนติเมตรแรก ดูโอดีนัมอยู่ชิดกับผนังหลังของ ช่องท้อง
และอยู่นอกเยื่อบุช่องท้อง ดูโอดีนัมประกอบเป็น
 รูปโค้งอยู่หน้ากระดูกสันหลังส่วนเอวอันที่ ๑, ๒ และ ๓

ส่วนแรกต่อจากกระเพาะอาหารยาว ๒.๕ เซนติเมตร ทอดไปทางหลัง ส่วนที่ ๒ ทอดลงล่าง
 ทางขอบขวาของกระดูก สันหลังส่วนเอวอันที่ ๑, ๒, ๓ ส่วนที่ ๓ ทอดข้ามกระดูกสันหลัง
 ส่วนเอวอันที่ ๓ ไปทางซ้าย ต่อไปส่วนที่ ๔ ทอดขึ้นบนไปต่อ กับลำไส้ส่วนเจจูนัม
 มีท่อน้ำดีจากตับ และท่อของตับอ่อนมา เปิดสู่ดูโอดีนัมส่วนที่ ๒

เจจูนัมและอิเลอัม ส่วนต้น ๒/๓ เรียก เจจูนัม และ ส่วนปลาย ๑/๓ เรียกว่า อิเลอัม
ความยาวทั้งหมดประมาณ ๖ เมตร แต่อาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคลตั้งแต่ ๔.๕ ถึง ๙ เมตร
เจจูนัมกว้าง ๓ เซนติเมตร และค่อยๆ แคบลงเป็น ๒ เซนติเมตร ที่อิเลอัม ทั้งสองส่วนนี้มีเยื่อบุช่องท้อง หุ้มโดยรอบ และยึดกับผนังหลังของช่องท้อง จึงขดไปขดมา และเคลื่อนที่ได้โดยสะดวกในช่องท้อง
อิเลอัมไปต่อกับลำไส้ ใหญ่ทางขวาของช่องท้องส่วนล่าง
ลำไส้ใหญ่ 

ยาวประมาณ ๑.๕-๑.๘ เมตร ประกอบด้วยซีคัม (caecum) ไส้ติ่ง (appendix) และโคลอน (colon)

ซีคัม เป็นส่วนแรกย้อยลงมาเป็นถุงก้นตันยาว ๖ เซนติเมตร อยู่ที่ส่วนล่างของท้องข้างขวา
 และอยู่ต่ำกว่าระดับรอยต่อระหว่างลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่

ไส้ติ่ง เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ ๙ เซนติเมตร กว้าง ๖ มิลลิเมตร
 ติดกับด้านหลัง และใกล้ส่วนกลางของซีคัม ไส้ติ่งในชายยาวกว่าหญิงเล็กน้อย

โคลอน ต่อกับซีคัมที่ระดับรอยต่อระหว่างลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่
 ส่วนทอดขึ้นยาวประมาณ ๑๒-๒๐ เซนติเมตร
ทอดขึ้นบนชิดกับผนังหลังข้างขวาของช่องท้องจนถึงด้านล่างของตับ
 ส่วนทอดขวางยาว ๕-๑๐ เซนติเมตร จะโค้งมาทางด้านหน้าไปทางซ้าย
 ไปจนถึงด้านล่างของม้าม และส่วนทอดลงยาว ๒๕ เซนติเมตร
 ทอดลงล่างชิดกับผนังหลังข้างซ้ายของท้อง จนถึงขอบของช่องเชิงกราน
จากนี้ก็เรียกว่า ส่วนเชิงกราน ยาว ๔๐ เซนติเมตร
ทอดไปสู่แนวกลางไปต่อกับทวารหนักที่ระดับกระดูกสันหลังส่วนเชิงกรานอันที่ ๓
ทางเดินของลำไส้ใหญ่และอวัยวะภายในช่องท้องภายหลังการเอา เจจูนัม และอิเลอัมออกแล้ว
ทางเดินของลำไส้ใหญ่และอวัยวะภายในช่องท้องภายหลังการเอา เจจูนัม และอิเลอัมออกแล้ว
ลำไส้ตรงต่อจากโคลอนส่วนเชิงกรานในแนวกลางลำตัว
ทอดลงล่างตามความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนเชิงกราน และกระดูกก้นกบ
ไปหมดที่ ๓.๕ เซนติเมตร ต่ำกว่าปลายกระดูกก้นกบ


ช่องทวารหนักเป็นช่องแคบๆ ยาว ๒.๕-๓.๕ เซนติเมตร
ต่อจากลำไส้ตรงทอดเฉียงลงล่างไปทางหลังไปหมดที่รูทวารหนัก
 ช่องทวารหนักมีหูรูดซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ และหูรูด ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อลาย
 ซึ่งทำหน้าที่ปิดกักกากอาหารไว้
เมื่อต้องการขับถ่ายกากอาหารหูรูดเหล่านี้ก็จะหย่อนยอมให้กากอาหารผ่านออกไปได้

ตับ 

เป็นต่อมสำหรับการย่อยอาหาร เนื่องจากหลั่งน้ำดีไปสู่ดูโอดีนัม เพื่อย่อยอาหารประเภทไขมัน

ตับเป็นอวัยวะภายในที่ใหญ่ที่สุด และหนักที่สุด อยู่ในส่วนบนของช่องท้องชิดกับกะบังลม
 และกระดูกซี่โครง ส่วนใหญ่อยู่ทางขวา ส่วนน้อยอยู่ตรงกลาง และยื่นไปทางซ้ายเล็กน้อย
 ตับของทารกในครรภ์หนักประมาณ ๑ ใน ๘ ของน้ำหนักตัว ในผู้ใหญ่ตับหนักประมาณ ๑ ใน ๓๖
ของน้ำหนักตัว
ด้านหน้าของตับ
ด้านหน้าของตับ
ในขณะมีชีวิต ตับมีสีน้ำตาลแกมแดง นุ่มและฉีกขาดง่าย ตับมีรูปร่างคล้ายลิ่มขนาดใหญ่ แต่ด้านบน
 ด้านหน้า และด้านหลัง กลมมน ส่วนใหญ่ของตับอยู่ทางขวา วัดจากหน้าไปหลังยาว ๑๒.๕ เซนติเมตร
และจะลดเหลือครึ่งเดียวในกลางตัว
ด้านหลังของตับ
ด้านหลังของตับ
เลือดจากกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ ซึ่งนำอาหารที่ย่อยแล้วมาสู่ตับ
 โดยทางหลอดเลือดดำปอร์ตัล และมีหลอดเลือดแดงซึ่งนำเลือดที่มีออกซิเจนมาสู่ตับด้วย
 หลอดเลือดดำเและแดงทั้งสองนี้แตกแขนงภายในตับจนถึงระดับ เลือดฝอย
 จากหลอดเลือดฝอยเหล่านี้รวบรวมเป็นหลอดเลือดดำ ออกจากตับไปสู่หัวใจได้


เลือดดำนำอาหารที่ย่อยแล้วสู่ตับ ตับมีหน้าที่ทำลายพิษ บางอย่างที่มากับอาหาร
 เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นไกลโคเจน และเปลี่ยนไกลโคเจนเป็นกลูโคสสู่กระแสโลหิตได้ดีด้วย

ตับยังมีหน้าที่สร้างและหลั่งน้ำดี ออกไปทางท่อตับ (hepatic duct) ตลอดเวลา
แต่ปกติน้ำดีจะเข้าสู่ดูโอดีนัมใน ขณะที่มีการย่อยอาหารเท่านั้น น้ำดีจึงถูกนำไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี
 ซึ่งมีหน้าที่ดูดน้ำจากน้ำดีไปบ้างก่อน และมีการหลั่งน้ำเมือก ออกมาผสมกับน้ำดี จึงทำให้น้ำดีข้นขึ้น

ถุงน้ำดีอยู่ชิดกับด้านล่างของตับ ยาว ๗.๕ เซนติเมตร และกว้าง ๒.๕-๓ เซนติเมตร จุได้ ๓๐-๔๕ มิลลิลิตร
 รูปร่างคล้ายผลชมพู่ ปลายกว้าง แล้วเรียวเล็กลงเป็นท่อน้ำดี
ท่อจากถุงน้ำดีไปต่อกับท่อตับเป็นท่อน้ำดีทอดลงล่างไปเปิดเข้าดูโอดีนัมส่วนที่สอง
 ท่อน้ำดีมีหูรูดที่ปลายของมัน และจะเปิด เมื่อมีการย่อยอาหารเท่านั้น

ตับอ่อน
เป็นต่อมสำหรับการย่อยเช่นเดียวกับตับ มีหน้าที่หลั่งน้ำย่อยไปสู่ดูโอดีนัม
 โดยทางท่อตับอ่อนและยังมีกลุ่มเซลล์ หลั่งอินซูลิน (insulin) เข้าสู่กระแสโลหิตโดยตรง
จึงเป็นต่อมไร้ท่อด้วย

คนขณะมีชีวิต มีตับอ่อนสีเหลือง นุ่ม รูปร่างคล้ายตัวลูกน้ำ ยาวประมาณ ๑๒.๕-๑๕ เซนติเมตร
 ส่วนหัวอยู่ในโค้งของดูโอดีนัม ส่วนตัวทอดขวางไปทางซ้ายชิดกับผนังหลังของท้อง
 และส่วนหางไปชิดกับม้าม

ระบบสืบพันธุ์


ระบบสืบพันธุ์

1) รังไข่ (Ovary) ทำหน้าที่ผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะกำหนดลักษณะต่างๆในเพศหญิง เช่น ตะโพกผาย เสียงแหลม สำหรับรังไข่จะมี 2 อัน ซึ่งจะอยู่คนละข้างของมดลูก
จะมีลักษณะคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยาวประมาณ 2 - 3เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร
2) ท่อนำไข่ (Fallopian Tube) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปีกมดลูก
 เป็นทางเชื่อมต่อระหว่างรังไข่ทั้งสองข้างกับมดลูก 
ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูกและเป็นบริเวณที่อสุจิ
จะเข้าปฏิสนธิกับไข่ ท่อนำไข่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร
 และยาวประมาณ 6 - 7 เซนติเมตร
3) มดลูก (Uterus) มีรูปร่างคล้ายผลชมพู่หัวกลับลง กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร
 ยาวประมาณ 6 - 8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนติเมตร 
อยู่ในบริเวณอุ้งกระดูกเชิงกรานระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก
 ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วและเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4) ช่องคลอด (Vagina) อยู่ต่อจากมดลูกลงมา
 ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและเป็นทางออกของทารกเมื่อครบกำหนดคลอด

อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง

การตกไข่
          การตกไข่ หมายถึง การที่ไข่สุกและออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่
 โดยปกติรังไข่แต่ละข้างจะสลับกันผลิตไข่ในแต่ละเดือน ดังนั้น จึงมีการตกไข่เกิดขึ้นเดือนละ 1 ใบ
 ในช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน เมื่อมีการตกไข่ 
มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีผนังหนาขึ้นทั้งมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก 
ซึ่งต่อไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงใน 2 กรณีต่อไปนี้
1) ถ้ามีอสุจิเคลื่อนที่เข้ามาในท่อนำไข่ในขณะที่มีการตกไข่
 อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ที่บริเวณท่อนำไข่ด้านที่ใกล้กับรังไข่ 
ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเคลื่อนตัวเข้าสู่มดลูก เพื่อฝังตัวที่ผนังมดลูกและเจริญเติบโตต่อไป
2) ถ้าไม่มีตัวอสุจิเข้ามาในท่อนำไข่ ไข่จะสลายตัวก่อนที่จะผ่านมาถึงมดลูก 
จากนั้นผนังด้านในของมดลูกและเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง เป็นจำนวนมากก็จะสลายตัว
 แล้วไหลออกสู่ภายนอกร่างกายทางช่องคลอด เรียกว่า ประจำเดือน 
โดยปกติผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่อายุประมาณ 12 ปี ขึ้นไป 
รอบของการมีประจำเดือนแต่ละเดือนจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน 
โดยทั่วไปประมาณ 28 วัน และจะมีทุกเดือนไปจนกระทั่งอายุประมาณ 50 - 55 ปี
 จึงจะหยุดการมีประจำเดือน โดยจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของร่างกาย


การตกไข่

การตั้งครรภ์และการคลอด
          การตั้งครรภ์จะเริ่มต้นเมื่อตัวอสุจิเข้าผสมกับไข่ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณ
ท่อนำไข่ตอนปลายใกล้กับรังไข่ โดยปกติ ไข่ 1 ใบจะถูกผสมด้วยอสุจิเพียง 1 ตัวเท่านั้น
 เพราะเมื่อมีตัวอสุจิตัวหนึ่งเข้าผสมแล้วเยื่อหุ้มเซลล์ของไข่จะหนาขึ้นจนทำให้อสุติตัวอื่น
ไม่สามารถเข้าผสมได้อีก หลังจากไข่ได้รับการผสมแล้วภายในเวลาประมาณ 10 - 12 ชั่วโมง นิวเคลียสของตัวอสุจิจะเข้าผสมกับนิวเคลียสของไข่ซึ่งเรียกว่าเกิดการปฏิสนธิ 
ภายหลังการปฏิสนธิประมาณ 30 - 37 ชั่วโมง ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะแบ่งเซลล์จาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ เป็น 4 เซลล์และแบ่งต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งได้กลุ่มเซลล์ เรียกว่า เอ็มบริโอ
 จากนั้นเอ็มบริโอจะเคลื่อนตัวไปฝังที่ผนังมดลูกต่อไป
          หลังจากที่เอ็มบริโอฝังตัวกับผนังมดลูกจะมีการสร้างเยื่อบางๆขึ้น เรียกว่า ถุงน้ำคร่ำ 
ห่อหุ้มทารก ซึ่งภายในมีของเหลวไว้ป้องกันการกระทบกระเทือน ส่วนเอ็มบริโอก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆจนกระทั่งอายุประมาณ 8 สัปดาห์ จึงมีลักษณะต่างๆเหมือนทารก
 จากนั้นอวัยวะต่างๆทั้งอวัยวะภายในและภายนอกจะเจริญต่อไป
 เพื่อให้สมบูรณ์เต็มที่และพร้อมที่จะทำงาน สำหรับทารกในครรภ์จะได้รับอาหารและ
แก๊สรวมทั้งการกำจัดของเสียในร่างกายโดยผ่านทางรก รกเป็นส่วนที่ติดต่อกับมดลูก
ของแม่เชื่อมต่อถึงตัวทารกทางสายสะดือ จะมีเส้นเลือดจากตัวแม่มาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมาก
 ดั่งนั้นการเจริญเติบโต ของทารกในครรภ์จึงขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาสุขภาพ
ของมารดาทั้งทางร่างกายและจิตใจ
          ทารกจะเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งครบกำหนดคลอด 
โดยใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 9 เดือน หรือ 38 สัปดาห์ หรือ 280 วัน
 นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายของมารดา 
เมื่อครบกำหนดคลอดต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่งออกมากระตุ้นให้มดลูกบีบตัว
 ขณะเดียวกันกล้ามเนื้อท้องจะหดตัวทำให้ปากมดลูกเปิดออก
 ทารกในครรภ์จึงถูกดันให้ออกมาทางช่องคลอดได้

1) อัณฑะ (Testis) และถุงอัณฑะ (Scrotum)
อัณฑะ มีลักษณะรูปร่างคล้ายไข่ฟองเล็ก ยาว 3-4 cm หนาประมาณ 2-3 cm 
หนักประมาณ 50 กรัม อัณฑะมี 2 ข้างและขนาดใกล้เคียงกันอยู่ภายในถุงอัณฑะ 
ซึ่งทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิภายในถุงอัณฑะให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของอสุจิ คือ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ภายในอัณฑะประกอบด้วยหลอดสร้างตัวอสุจิ 
มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆขดเรียงกันอยู่มากมาย เพื่อทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm)
 นอกจากนั้นยังมีเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย
 เช่น เสียงห้าว มีหนวดเครา
2) หลอดสร้างตัวอสุจิ (Semimiferous tubules) และท่อนำตัวอสุจิ (vas deferens)
หลอดสร้างตัวอสุจิเป็นหลอดที่หน้าที่ผลิตตัวอสุจิจะประกอบด้วยกลุ่มเชลล์spermatogonium และ sertoli cell ทำหน้าที่สร้างอาหารให้ตัวอสุจิและปล่อยออกมาทาง
 rete testis เข้าไปอยู่ในหลอดเก็บตัวอสุจิ
3) ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle)
ทำหน้าที่สร้างอาหารให้แก่ตัวอสุจิ ส่วนมากเป็นน้ำตาลฟรักโตส วิตามินซี และโปรตีนโกบุลิน
4) ต่อมลูกหมาก (prostate gland)
อยู่บริเวณตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่เป็นเบสอย่างอ่อนและ
สารที่ทำให้ตัวอสุจิแข็งแรงและว่องไว
5) ต่อมคาวเปอร์ (cowper gland)
มีหน้าที่หลั่งสารของเหลวใสๆไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะเกิดดารกระตุ้นทางเพศ
6) องคชาต (penis)
เป็นกล้ามเนื้อที่หดและพองตัวได้คล้ายฟองน้ำในวลาปกติจะอ่อนและงอตัวอยู่
 แต่เมื่อถูกกระตุ้นจะเเข็งตัวเพราะมีเลือดมาคั่งมาก
 ภายในจะมีท่อปัสสาวะทำหน้าที่เป็นทางผ่านของตัวอสุจิและน้ำปัสสาวะ

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย


ขั้นตอนในการสร้างตัวอสุจิและการหลั่งน้ำอสุจิ มีดังนี้
           เริ่มจากหลอดสร้างตัวอสุจิ ซึ่งอยู่ภายในอัณฑะสร้างตัวอสุจิออกมา 
จากนั้นตัวอสุจิจะถูกนำไปพักไว้ที่หลอดเก็บอสุจิก่อนจะถูกลำเลียงผ่านไปตามหลอดนำตัวอสุจิ
 เพื่อนำตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิรอการหลั่งออกสู่ภายนอก
 ต่อมลูกหมากจะหลั่งสารเข้าผสมกับน้ำเลี้ยงอสุจิเพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมกับตัวอสุจิ
ก่อนที่จะหลั่งน้ำอสุจิออกสู่ภายนอกทางท่อปัสสาวะ
           โดยปกติเพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิได้เมื่ออายุประมาณ 12 - 13 ปี
 และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต ส่วนการหลั่งน้ำอสุจิในแต่ละครั้งจะมีของเหลวออกมาเฉลี่ย
ประมาณ 3 - 4 ลูกบาศก์เซนติเมตรและมีตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 350 - 500 ล้านตัว 
สำหรับชายที่เป็นหมันจะมีตัวอสุจิน้อยกว่า 30 - 50 ล้านตัว ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร 
หรือมีตัวอสุจิที่ผิดปกติมากกว่าร้อยละ 25 ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาจะเคลื่อนที่ได้ประมาณ 3 - 4 มิลลิเมตรต่อนาที และมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้ประมาณ 2 ชั่วโมง 
แต่จะมีชีวิตอยู่ในมดลูกของเพศหญิงได้นานประมาณ 24 - 48 ชั่วโมง
           น้ำอสุจิ แต่ละครั้งที่หลั่งออกมาประกอบด้วยตัวอะสุจิและน้ำหล่อเลี้ยงต่างๆประมาณครั้งละ 3 ลบ . ซม . จำนวนอสุจิประมาณ 300-500 ล้านตัว
           ตัวอสุจิ มีขนาดเล็กมากมีลักษณะคล้ายลูกอ๊อดประกอบด้วยส่วนหัวและส่วนหางดังรูป มีอายุ 48 ชั่วโมงเมื่อเข้าไปในมดลูก



 
การสืบพันธุ์ของมนุษย์เกิดขึ้นแบบปฏิสนธิภายในโดยการร่วมเพศ ในกระบวนการ
ดังกล่าวองคชาตของเพศชายจะสอดใส่ในช่องคลอดของเพศหญิงจนกระทั่งเพศชาย
หลั่งน้ำอสุจิซึ่งประกอบด้วยอสุจิเข้าไปในช่องคลอดของเพศหญิง อสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์
เพศชายจำนวนมากจะเคลื่อนที่ผ่านช่องคลอดและปากมดลูกเข้าไปในมดลูกหรือท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ หลังการปฏิสนธิและฝังตัวจะเกิดการตั้งครรภ์ของทารกในครรภ์ขึ้นภายในมดลูก
ของเพศหญิงซึ่งใช้เวลาประมาณ 9 เดือน การตั้งครรภ์จะสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอด
 การคลอดนั้นต้องอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก การเปิดออกของปากมดลูก 
แล้วทารกจึงจะผ่านออกมาทางช่องคลอดได้ ทารกนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และต้องอาศัยการดูแลจากผู้ปกครองเป็นเวลาหลายปี หนึ่งในการดูแลดังกล่าวคือการเลี้ยงลูกด้วยนม
แม่ซึ่งต้องอาศัยต่อมน้ำนมที่อยู่ภายในเต้านมของเพศหญิง
           ในมนุษย์มีการเจริญและพัฒนาของระบบสืบพันธุ์อย่างมากมาย นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในเกือบทุกอวัยวะในระบบสืบพันธุ์แล้วนั้น ยังพบการเปลี่ยนแปลงอีกในลักษณะ
เฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิ (secondary sexual characteristics)
        -  Conjugation หรือการถ่ายโอน  DNA พบในแบคทีเรีย พารามีเซียม
 สาหร่ายและฟังไจบางชนิด          
ระบบสืบพันธุ์ เป็นระบบของอวัยวะในร่างกายสิ่งมีชีวิตซึ่งทำงานร่วมกันโดยมีจุดประสงค์
เพื่อการสืบพันธุ์เพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตให้มากขึ้น ในระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยสารต่างๆ อาทิ 
ของเหลว ฮอร์โมน และฟีโรโมนหลายชนิดเพื่อช่วยเหลือในการทำงาน 
ระบบสืบพันธุ์เป็นระบบซึ่งแตกต่างจากระบบอวัยวะอื่นๆ
 กล่าวคือระบบเพศของสัตว์ต่างชนิดกันก็มีความแตกต่างกัน ความหลากหลายนี้ก่อให้เกิดการ
ผสมรวมกันของสารพันธุกรรมระหว่างสิ่งมีชีวิตสองตัว เพื่อเพิ่มความสามารถในการดำร
อยู่ในสิ่งแวดล้อมของลูกหลานต่อไป มี 2 แบบคือ
       1. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ(sexual  reproduction) คือ ทำให้ลูกที่เกิดมา
มีความแปรผันทางพันธุกรรม
        -  Fertilization หรือการปฏิสนธิ มีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์ เกิดเป็นzygote   
แบ่งออกเป็นการปฎิสนธิภายในกับการปฎิสนธิภายนอก
Fertilization

        2. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ(asexual  reproduction)คือ 
ลูกที่เกิดมาไม่มีความแปรผันทางพันธุกรรมลักษณะเหมือนพ่อ แม่ทุกประการ
        -    Binary fission  คือการแบ่งเซลล์ออกเปนสอง
        -    Multi fission  คือแบ่งนิวเคลียสหลายๆที แล้วค่อยแบ่ง cytoplasm
        -    Sporulation หรือการสร้างสปอร์
        -    Parthenogenesis พบในผึ้ง ต่อ แตน โดยไข่ (n) ที่ไม่ได้รับการผสม
จะเจริญกลายเป็นตัวผู้   
Binary Fission