ระบบหมุนเวียนโลหิต
ระบบหมุนเวียนโลหิต
อาหารที่เรากินเข้าไปเมื่อผ่านกระบวนการย่อยอาหารจะได้อนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งสามารถแพร่ผ่านเข้าสู่ผนังของลำไส้เล็กได้ จากนั้นจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือด แล้วถูกนําไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดนระบบหมุนเวียนของเลือด เชนเดียวกับกาซออกซิเจนที่เมื่อถูกนำเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกนําไปยังเซลล์ต่างๆของร่างกายโดยเม็ดเลือดแดง และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกระบวนการหายใจ จะถูกลําเลียงออกจากเซลล์ทางพลาสมา ซึ่งการหมุนเวียนของเลือดและการหมุนเวียนของก๊าซจะเกิดควบคู่กันไปในระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วย เลือด หลอดเลือด และ หัวใจ
หัวใจของมนุษย์มีขนาดเท่ากับกำปั้นที่กำแน่นของผู้ที่เป็นเจ้าของ
หัวใจ (heart) ทําหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วไหลกลับคืนสูหัวใจ หัวใจประกอบด้วยกล้าเนื้อพิเศษที่เรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ แบ่งห้องออกเป็นห้องบน (atrium) 2 ห้อง และห้องล่าง (ventricle) 2ห้อง หัวใจห้องบนจะเล็กกว่าห้องล่าง ระหว่าง หัวใจห้องบนและห้องล่างจะมีลิ้นกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ หัวใจห้องล่างซ้ายจะมี ผนังหนาที่สุด เพราะหัวใจห้องล่างซ้ายมีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
ระบบหมุนเวียนของเลือดในคน
ในร่างกายมนุษย์มีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนอยู่ในเส้นเลือด การสูบฉีดโลหิตของหัวใจ ทำให้เกิดแรงดันให้เลือดไหลไปตามเส้นเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และไหลกลับคืนสู่หัวใจ โดยหัวใจของคนเราตั้อยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างค่อนมาทาด้านซ้ายชิดผนังทรวงอก แบ่งออกเป็น 4 ห้อง ห้องบนสองห้อง มีผนังบาง เรียกว่า เอเทรียม ( atrium ) ส่วนสองห้องล่างมีขนาดใหญ่กว่าและผนังหนา เรียกว่า เวนทริเคิล ( ventricle ) ระหว่างห้องบนกับห้องล่างทั้งสองซีกจะมีลิ้นหัวใจ ( value ) คอยเปิด- ปิด เพื่อกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
** หัวใจของคนเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อที่มิได้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับของสมอง **** หัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มี 4 ห้อง ของสัตว์ครึ่งบกครึ่น้ำมี3 ห้อง ( ยกเว้นจระเข้ มี 4 ห้อง ) หัวใจปลามี 2 ห้อง หัวใจของสัตว์ปีก มี 4 ห้อง
ในร่างกายของมนุษย์ ระบบการหมุนเวียนของเลือดประกอบด้วยหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยมีเส้นเลือดเป็นท่อลำเลียงเลือด ดังนั้นระบบหมุนเวียนเลือดของคนเราจึงประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ เลือด เส้นเลือด และ หัวใจ
1. เลือด ( blood ) ในร่างกายของคนเรามีเลือดอยู่ประมาณ 6,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร เลือดประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำเลือด ( plasma ) กับส่วนที่เป็นของแข็ง คือ เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และ เกล็ดเลือด
1.1 ส่วนที่เป็นของหลว คือ น้ำเลือดหรือพลาสมา ประกอบด้วยน้ำและสารต่างๆ ซึ่งได้แก่ สารอาหารที่ถูกย่อยแล้ว รวมทั้งวิตามิน เกลือแร่ ฮอร์โมนและสารอื่นๆที่ละลายน้ำได้ สารเหล่านี้จึงอยู่ในรูปสารละลาย มีประมาณ 50 % ของเลือดทั้งหมด น้ำเลือดทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่ถูกดูดซึมจากลำไส้เล็กไปสู่ส่วนต่างๆของเซลล์ทั่วร่างกายและลำเลียงของเสียที่เป็นของเหลวจากเซลล์ เช่น ยูเรีย มาสู่ไต ซึ่งไตจะสกัดเอาสารยูเรียออกจากเลือดแล้วขับถ่ายออกมาในรูปของปัสสาวะ
1.2 ส่วนที่เป็นของแข็ง มีอยู่ประมาณ 50% ของเลือดทั้งหมด ประกอบด้วย
- เซลล์เม็ดเลือดแดง ในขณะที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จะอยู่ในไขกระดูกและมีนิวเคลียส แต่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดแล้วนิวเคลียสจะหายไป เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ขนส่งแก๊สออกซิเจน จากปอดไปสู่เซลล์ทั่ร่างกายและขนส่งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการสลายอาหารจากเซลล์มาสู่ถุงลมในปอดเพื่อขับถ่ายออกนอกร่างกายทางลมหายใจออก โดยเฉลี่ยเม็ดเลือดแดงจะมีชีวิตอยู่ในกระแสเลือดประมาณ 90- 120 วัน หลังจากนั้นจะถูกส่งไปทำลายที่ตับและม้าม
- เซลล์เม็ดเลือดขาว มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง ภายในมีนิวเคลียส ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
- เกล็ดเลือด เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ที่มีรูปร่างเป็นแผ่นเล็กๆปนอยู่ในน้ำเลือด ไม่มีนิวเคลียส มีหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว เวลาเกิดบาดแผลเล็กๆเกล็ดเลือดจะทำให้เส้นใย ( fibrin ) ปกคลุมบาดแผลทำให้เลือดหยุดไหล เป็นการป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียเลือดมากเกินไป เกล็ดเลือดจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 4 วัน

2. เส้นเลือด ( blood vessels ) เส้นเลือดในร่างกายคนแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
- เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ เรียกว่า อาร์เทอรี ( Artery )
- เส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ เรียกว่า เส้นเวน ( Vein )
- เส้นเลือดฝอย ( Capillaries ) เส้นเลือดอาร์เทอรี เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ มีขนาดต่างๆกัน ขนาดใหญ่คือ เอออร์ตา มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว และขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลาประมาณ 0.2 มิลลิเมตร ไม่มีลิ้น เส้นเลือดอาร์เทอรี ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้ มีผนังหนา สามารถรับแรงดันเลือด ซึงเป็นแรงดันค่อนข้างสูง อันเป็นผลเนื่องมาจากการบีบตัวของหัวใจห้องล่าซ้าย ความดันของเลือดจะสูงมากในเส้นเลือดอาร์เทอรีใกล้หัวใจ คือ เส้นเลือดแดงใหญ่ที่สุดที่เรียกว่า เอออร์ตา และค่อยๆลดลงตามลำดับเมื่ออยู่ห่างจากหัวใจไปเรื่อยๆจนถึงอวัยะต่างๆดังนั้นการวัดความดันเลือด เส้นเลือดที่เหมาะสำหรับวัดความดันเลือดคือเส้นอาร์เทอรีที่ต้นแขน ผู้ใหญ่อายุ 20 - 30 ปี มีความดันเลือดปกติประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ตัวเลขข้างหน้า ( 120 )หมายถึง ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว เรียกว่าความดันซิสโทลิก ( Systolie pressure ) ตัวเลขข้างหลัง( 80 ) หมายถึงความดันดลหิตของหัวใจคลายตัว เรียกว่า ความดันไดแอสโทลิก ( Diastolie pressure )
ที่เรียกว่า การจับชีพจร ซึ่งชีพจร ( pluse ) หมายถึงอัตราการเต้นของหัวใจ จงหวะการหยืดหยุ่นของเส้นเลือดอาร์เทอรีเป็นไปตามจังหวะการเต้นของหัวใจ สำหรับการเต้นของหัวใจปกติประมาณ 72 ครั้งต่อนาที แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามลักษณะต่างๆ เช่น เพศ วัย อิริยาบท โรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น
3. หัวใจ ( heart ) หัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยจะรับเลือดที่มีออกซิเจนสูงจากปอดเข้าทางหัวใจห้องบนซ้ายผ่านต่อมายังหัวใจห้องล่างซ้าย เพื่อส่งออกไปยังอวัยวะต่างๆขอองร่างกายและจะรับเลือดที่มีออกซิเจนน้อยจากส่วนต่างๆของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจทางหัวใจห้องบนขวา และผ่านไปยังหัวใจห้องล่างขวาเพื่อส่งไปยังปอด เลือดที่มีออกซิเจนต่ำจะไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจนและกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งหมุนเวียนตลอดเวลาอย่างเป็นระบบ
หรือกล่าวได้ว่าเลือดดำ ( เลือดที่มีแก๊สออกซิเจนต่ำ )จากส่วนต่างๆ ของร่างกายไหลเข้าหัวใจทางหัวใจห้องบนขวาโดยเลือดจากส่วนบนของร่างกายจะเข้าสู่หัวใจทางเส้นเลือดซุปิเรียเวนาคาวาและเลือดจากส่วนล่างของร่างกายจะเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาทางเส้นเลือดอินพีเรียเวนาคาวา จากนั้นหัวใจห้องบนขวาจะหดตัวให้เลือดผ่านลิ้นหัวใจลงสู่หัวใจห้องล่างขวาแล้วหัวใจห้องล่างขวาจะบีบตัวให้เลือดไปเข้าไปในเส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรีจากหัวใจไปยังปอด เลือดดำจะผ่านเข้าไปในเส้นเลือดฝอยรอบๆถุงลมปอด แล้วจ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับถุงลมปอดแล้วรับแก๊สออกซิเจนเข้ามาแทนเป็นผลให้เลือดดำกลายเป็นเลือดแดง ( เลือดที่มีแก๊สออกซิเจนสูง ) แล้วไหลออกจากปอดเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายทางเส้นเลือดพัลโมนารีเวนจากนั้นหัวใจห้องบนซ้ายจะบีบเลือดลงไปที่หัวใจห้องล่างซ้าย เพื่อให้หัวใจห้องล่างซ้ายบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป
ระบบไหลเวียนเลือดของมนุษย์
ระบบหมุนเวียนโลหิตของมนุษย์ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
น้ำเลือด (plasma)
น้ำเลือดประกอบด้วย
1. น้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่รักษาระดับปริมาณของเลือดความดันโลหิตให้คงที่ ละลายแร่ธาตุต่างๆ เป็นตัวกลางในการ ลำเลียงสาร ทำให้เซลล์มีความเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา
2. แร่ธาตุ ทำหน้าที่รักษาระดับของการแพร่ ระดับของ pH รักษาระดับสมดุลระหว่างน้ำเหลือง กับน้ำเลือดในเซลล์
3. พลาสมาโปรตีน (plasma protein) ทำหน้าที่ รักษาระดับของแรงดันออสโมติกและระดับ pH และยังมีพวกที่ทำหน้าที่เฉพาะ เช่น
- ไฟบริโนเจน (fibrinogen) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
- โพรทอมบิน (prothrombin) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
- อลบูมีน (albumin) ทำหน้าที่ช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- โกลบููลีน (globulin) ทำหน้าที่ควบคุมระดับ pH ปริมาณน้ำ ลำเลียงแร่ธาตุต่างๆ เป็นแอนติบอดี (antibody)
หัวใจ (heart)
หัวใจเป็นอวัยวะในระบบหมุนเวียนโลหิตที่มีการเปลี่ยนแปลง มาจากเส้นเลือดในขณะที่ร่างกายอยู่ในช่วงเป็นตัวอ่อน มีหน้าที่ในการบีบส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย อยู่ระหว่างปอดทั้ง 2 ข้างค่อนไปทางปอดด้านซ้าย มีรูปคล้ายดอกบัวตูม ขนาดเท่ากับกำมือของเจ้าของ หรือกว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร หัวใจจะอยู่ในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) มีน้ำเลี้ยง (pericardial fluid) หล่อเลี้ยงอยู่
ผนังของหัวใจมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ ชั้นนอก (epicardium) ชั้นกลาง (myocardium) และชั้นใน (endocardium) เนื้อเยื่อชั้นกลางจะหนามาก มีกล้ามเนื้อที่เป็นกล้ามเนื้อพิเศษเรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)
1. หัวใจของสิ่งมีชีวิต
- หัวใจที่มีลักษณะเป็นหลอดเลือดธรรมดา บีบตัวเป็นจังหวะตลอดเวลา เป็นหัวใจของพวกไส้เดือนดิน พวกปลิง เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า pulsating vessel
- tubular heart หัวใจนี้คล้ายกับ pulsating vessel เป็นหัวใจของพวกกุ้ง ปู หรือพวก arthropod อื่นๆ
- หัวใจที่มีรูปร่างเป็นกระเปาะหรือเรียกว่า ampullar heart เป็นหัวใจของพวกแมลง หมึก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน
หัวใจที่มีการแบ่งเป็นห้อง คือ ห้องรับเลือดและห้องส่งเลือด เรียกว่า chambered heart มีความสลับซับซ้อนมาก ระหว่างห้องของหัวใจจะมีลิ้นหัวใจปิดเปิดให้เลือดเคลื่อนที่ผ่านไปตามทิศทาง หัวใจแบบนี้แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ หัวใจชนิดสองห้อง เป็นหัวใจของพวกปลา หัวใจชนิดสามห้อง เป็นหัวใจของพวกสิ่งมีชีวิตที่มีปอด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก (ยกเว้นพวกจระเข้ที่หัวใจเป็นพวก 4 ห้อง แต่ 4 ห้องไม่สมบูรณ์) หัวใจชนิดสี่ห้อง เป็นหัวใจของพวกนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จระเข้
2. การเต้นของหัวใจ (heart beat) การเต้นของหัวใจเป็นการทำงานเพื่อสูบฉีดให้เลือดดีไหลไปทั่วทุกเซลล์ ทุกเนื้อเยื่อ ทุกอวัยวะของร่างกาย สูบฉีดผลักดันเลือดเสียให้ไปยังอวัยวะที่ทำการแลกเปลี่ยนของเสียและของดีของเลือด
การเต้นของหัวใจจะเต้นเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอตลอด เวลา เนื่องมาจากกล้ามเนื้อหัวใจหดตัว เรียกการทำงานนี้ว่า การเต้นของหัวใจ (heart beat or contraction of heart) หัวใจจะเริ่มเต้นตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ของมารดาไปจนกระทั่งสิ้นชีวิต
การเต้นของหัวใจประกอบด้วยขั้นตอน 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการบีบตัว เรียกว่า systole และขั้นตอนการคลายตัวหรือพองตัว เรียกว่า diastole
3. อัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate) อัตราการ เต้นของหัวใจมีผลมาจากสิ่งต่างๆ เช่น
- การเปลี่ยนแปลงเมแทบอลิซึมในร่างกาย
- เพศ เพศหญิงหัวใจเต้นเร็วกว่าเพศชาย
- อิริยาบถของร่างกาย เช่น นั่ง ยืน วิ่ง เป็นต้น
- การเจ็บป่วยจากโรคและการบาดเจ็บ
- ขนาดของร่างกาย ร่างกายมีขนาดเล็กอัตราการเต้นของหัวใจจะเร็ว ร่างกายมีขนาดใหญ่อัตราการเต้นของหัวใจจะช้า
มนุษย์ในวัยต่างๆ รวมทั้งสัตว์ต่างชนิดกันจะมีอัตราการเต้นของหัวใจไม่เท่ากันเช่น
- ทารกในครรภ์ 140 ครั้ง/นาที
- เด็กโต 100 ครั้ง/นาที
- วัยรุ่น 80 ครั้ง/นาที
- ผู้ใหญ่ 75 ครั้ง/นาที
- วัยชรา 75-80 ครั้ง/นาที
- หนู 700 ครั้ง/นาที
- กระต่าย 150 ครั้ง/นาที
- สุนัข 100-120 ครั้ง/นาที
- เต่า 56-60 ครั้ง/นาที
- ช้าง 25-28 ครั้ง/นาที
เส้นเลือด (blood vessel)
ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตระบบหมุนเวียนโลหิตมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบเส้นเลือดแดง (arterial system) และระบบเส้นเลือดดำ (venous system)
1. เส้นเลือดแดง (artery) เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดดีออกจากหัวใจ เพื่อนำไปยังเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย
2. เส้นเลือดดำ (vein) เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดเสียเข้าสู่หัวใจ โดยเป็นเลือดที่มาจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย
1. โครงสร้างของเส้นเลือด โครงสร้างของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดง (vein and artery) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ
1.1 เนื้อเยื่อชั้นนอก (tunica externa) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ (connective tissue) ที่เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ ภายในเนื้อเยื่อมีท่อน้ำเหลืองและเส้นประสาท ทำให้เส้นเลือดเล็กลงและใหญ่ขึ้นได้ตามความต้องการของร่างกาย
1.2 เนื้อเยื่อชั้นกลาง (tunica media) เป็นเนื้อเยื่อชั้นที่มีความหนามากที่สุด เป็น muscle layer ที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันประเภท elastic tissue และมี collagen fiber ทำให้มีความเหนียวและแข็งแรง ในเส้นเลือดแดงจะมีเนื้อเยื่อชั้นกลางหนากว่าเส้นเลือดดำ
1.3 เนื้อเยื่อชั้นใน (tunica interna) เนื้อเยื่อชั้นในสุดประกอบด้วยเนื้อเยื่อ endothelium และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันพวก elastic tissue ช่วยเพิ่มความแข็งแรง
โครงสร้างของเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงที่มีขนาดเท่ากันจะมีความแตกต่างกันคือ
- เส้นเลือดดำมีผนังบางกว่าเส้นเลือดแดง
- เส้นเลือดดำมีช่องว่างภายในมากกว่าเส้นเลือดแดง
- สีของเส้นเลือดดำจะมีสีคล้ำกว่าเส้นเลือดแดง
เส้นเลือดดำจะเริ่มต้นที่เส้นเลือดฝอยแล้วก็ใหญ่จนถึงหัวใจจะมีขนาดใหญ่สุด
เส้นเลือดแดงจะเริ่มต้นที่เส้นเลือดขนาดใหญ่ที่สุดแล้วค่อยๆ ลดขนาดลงจนเป็นเส้นเลือดฝอย
2. การไหลของเลือด (bloodflow) วิลเลียม ฮาวี นายแพทย์ชาวอังกฤษได้สรุปไว้ว่า "เลือดจะถูกดันออกจากหัวใจไปทั่วร่างกาย แล้วก็จะไหลกลับเข้าหัวใจอีก" การไหลของเลือดจะเป็นไปในทางเดียวกันหมด ไม่มีการย้อนทิศทางกันเลย แรงดันที่ทำให้เลือดไหลไปตามเส้นเลือดได้นั้นเริ่มต้นมาจากหัวใจ ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องสูบ และจะต้องมีกำลังแรงพอที่จะดันเลือดให้ไหลไปตามเส้นเลือดได้ติดต่อกันเป็นระยะๆ เรื่อยไป โดยเลือดไหลผ่านหัวใจประมาณนาทีละ 5 ลิตร
การไหลของเลือดมี 2 วงจรคือ
- pulmonary circulation เป็นวงจรที่เลือดเสียจากหัวใจห้องล่างขวาเดินทางไปยังปอดด้านซ้ายและปอดด้านขวาไปฟอก หรือเพื่อรับออกซิเจนและคายคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วเดินทางจากปอดกลับมาที่หัวใจห้องบนด้านซ้าย หรือเขียนเป็นผังได้ดังนี้
right ventricle --> lung (right and left) --> left auricle
- systemic circulation เป็นวงจรของเลือดดีจากหัวใจห้องด้านล่างซ้ายไปเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย และกลายเป็นเลือดเสียเดินทางกลับสู่หัวใจทางห้องบนด้านขวา
3. การวัดความดันโลหิต การวัดความดันโลหิตทำได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า sphygmomanometer หรือมาตรวัดความดันเลือด ค่าความดันเลือด มีหน่วยเป็น มิลลิเมตรของปรอท
ความดันเลือดปกติของคนที่โตเต็มที่มีค่าประมาณ 120/80 มิลลิเมตรของปรอท
Casinos in the United States - JTG Hub
ตอบลบWhat's in between the two 의정부 출장안마 casinos? 양주 출장안마 Yes, the MGM Grand 경기도 출장샵 Las Vegas is the best casino 고양 출장마사지 in town. The only 충주 출장마사지 difference is that the casino