วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ระบบหายใจ

เรื่องระบบหายใจ

1. ความหมายของระบบหายใจ


Picture

การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องใช้แก๊สออกซิเจนซึ่งคนเราได้รับแก๊สออกซิเจนจากการหายใจเข้า ถ้าร่างกายขาดแก๊สออกซิเจนไปเพียง 2 - 3 นาที ก็จะทำให้ถึงตายได้





 ระบบการหายใจ (respiratory  system)     
          

          
            ระบบการหายใจ คือ ระบบที่ประกอบด้วยอวัยวะเกี่ยวข้องกับการหายใจ เป็นการนำอากาศเข้าและออกจากร่างกายส่งผลให้แก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหาร ได้พลังงาน น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ กระบวนการหายใจเกิดขึ้นกับทุกเซลล์ตลอดเวลา การหายใจจำเป็นต้องอาศัย โครงสร้าง 2 ชนิดคือ กล้ามเนื้อกะบังลม และกระดูกซี่โครง ซึ่งมีกลไกการทำงานของระบบหายใจ ดังนี้


Picture



 กลไกการทำงานของระบบหายใจ
            1.) การหายใจเข้า (Inspiration) กะบังลมจะเลื่อนต่ำลง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนสูงขึ้น ทำให้ปริมาตรของช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดลดต่ำลงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายนอกจึงเคลื่อนเข้าสู่จมูก หลอดลม และไปยังถุงลมปอด


Picture


2.) การหายใจออก (Expiration) 

                กะบังลมจะเลื่อนสูง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดสูงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดไปสู่หลอดลมและออกทางจมูก


Picture

2. อวัยวะเกี่ยวกับการหายใจ

                         มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้


1.จมูก(Nose)
Picture

          จมูก    เป็นทางผ่านของอากาศด่านแรก ประกอบด้วยโครงสร้างรูปสามเหลี่ยมของกระดูกและกระดูกอ่อน ผิวด้านนอกปกคลุมด้วยผิวหนัง ส่วนผิวด้าน  ในบุด้วยเยื่อเมือก (Mucous membrane) มีช่องเปิดของช่องจมูกอยู่ 2 ช่อง แยกจากกันโดยผนังกั้น (Septum) ภายในเยื่อเมือกจะมีต่อมน้ำมันทำหน้าที่เป็นด่านป้องกัน   ฝุ่นละอองไม่ให้ลงไปสู่ปอด ช่องจมูกในส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนจะเป็นพื้นที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น ส่วนล่างจะเป็นทางผ่านของอากาศ โดยมีส่วนของกระดูกเอทมอยด์ (Ethmoid)และกระดูกคอนคี ส่วนล่าง (Inferior conchae) ยื่นออกมา 3 อัน เพื่อให้อากาศผ่านเข้าไปได้มาก และระหว่างกระดูกที่ยื่นออกมานี้ จะมีร่องเนื้อแดง (Metus) ซึ่งเป็นทางผ่านของอากาศ และมีอยู่ข้างละ 3 อัน ภายในร่องเนื้อแดงจะมีช่องเปิดของโพรงอากาศ (Air sinus) ในกะโหลกศีรษะ ซึ่งมีอยู่ 4 แห่งด้วยกันคือ โพรงอากาศที่โหนกแก้ม (Maxilla sinus) ที่หน้าผาก (Forntal sinus) ที่ดั้งจมูก (Ethmoid sinus) และที่กระดูกสฟินอยด์ (Sphenoid sinus) จมูกนอกจากทำ   หน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศไปสู่ปอดแล้ว ยังทำหน้าที่รับกลิ่น ช่วยทำให้เสียงชัดเจน  อากาศชุ่มชื้นและกรอง   ฝุ่นละออง นอกจากนี้ยังมีท่อน้ำตา (Naso-lacrimal duct) มาเปิดที่หัวตาอีกด้วย



2.) หลอดคอ (Pharynx)
Picture
       

 หลอดคอ หรือ คอหอย   เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากจมูกและปาก เป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 นิ้ว มีลักษณะคล้ายกรวย    หลอดคอ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ               1)  คอหอยส่วนที่อยู่ติดต่อกับจมูก (Naso-pharynx) เป็นทางผ่านของอากาศอย่างเดียว ที่ส่วนนี้จะมีช่องไปติดต่อกับหูส่วนกลาง เรียกช่องนี้ว่า หลอดยูสเตเชียน (Eustachian’s tube)               2)  คอหอยส่วนที่อยู่ติดกับปาก (Oro-pharynx) เป็นทางผ่านของอาหารและอากาศ              3)  คอหอยส่วนที่อยู่ติดกับกล่องเสียง (Laryngo-pharynx) เป็นทางผ่านของอากาศอย่างเดียว


 3.) หลอดเสียง (Larynx)

Picture
Picture
     

                  หลอดเสียง หรือ กล่องเสียง (Larynx) เป็นอวัยวะพิเศษ  ลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชายทำหน้าที่เป็นทางเดินอากาศ ตั้งอยู่ส่วนบนด้านหน้าคือบริเวณลูกกระเดือก (Adam’s apple) ด้านหน้าของหลอดอาหารประกอบด้วยกระดูกอ่อนทั้งชนิดใสและชนิดยืดหยุ่น 9 ชิ้นด้วยกัน ยึดติดกันด้วยเอ็นยึดข้อต่อและกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อนต่างๆ ได้แก่1 กระดูกอ่อนไทรอยด์ (Thyroid Cartilage) เป็นกระดูกอ่อนชิ้นใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยกระดูกอ่อนแผ่นสี่เหลี่ยม 2 แผ่นมาประกบกันเป็นลูกกระเดือก2 กระดูกอ่อนคริคอยด์ (Cricoid Cartilage) รูปร่างเหมือนวงแหวน ริมล่างจะติดต่อกับหลอดลม3 ฝาปิดกล่องเสียง (Epiglottis) เป็นกระดูกอ่อนยืดหยุ่น มีรูปร่างคล้ายใบไม้ ยึดติดกับกระดูกอ่อนไทรอยด์ เมื่อเวลากลืนอาหารลงไป ฝาปิดกล่องเสียงจะปิด เพื่อไม่ให้อาหารตกลงไป4 กระดูกอ่อนอาริทีนอยด์ (Arytenoid Cartilage) อยู่ส่วนบนของกระดูกอ่อนคริคอยด์ ซึ่งจะเป็นที่ยึดปลายข้างหนึ่งของสายเสียง (Vocal cord) ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งจะยึดติดกับกระดูกอ่อนไทรอยด์


4.) หลอดลม (Trachea)

Picture
      

                 หลอดลม (Trachea) อยู่ด้านหน้าของหลอดอาหาร ตอนบนจะติดอยู่กับกระดูกอ่อนคริคอยด์ ปลายล่างจะอยู่ในระดับกระดูกสันหลังระดับอกชิ้นที่ 5 (T5) หลอดลมยาวประมาณ 4.5 นิ้ว ส่วนประกอบของหลอดลมประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปครึ่งวงกลม 16-20 ชิ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้หลอดลมแฟบได้ง่าย และทำให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวก ฝาปิดกล่องเสียงก็สามารถขยายตัวได้ สะดวกในการกลืนอาหาร ทั้งกล่องเสียงและหลอดลมภายในจะบุด้วยเยื่อเมือกและมีขน (Cilia) ซึ่งจะขับเมือกออกมาคอยดักฝุ่นละอองหรือสิ่งที่หายใจปนไปกับอากาศเอาไว้หลอดลมขั้วปอด (Bronchi) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากหลอดลม แยกออกเป็น 2 ข้าง คือ ซ้ายและขวา โดยข้างขวาจะสั้นกว่า กว้างกว่า และอยู่ในแนวดิ่งมากกว่าข้างซ้าย โรคต่างๆ เช่น วัณโรค ปอดปวม จึงมักจะเกิดกับข้างขวามากกว่าข้างซ้าย หลอดลมขั้วปอดนี้จะทอดเข้าสู่ปอดข้างขวาและซ้าย แตกแขนงออกเป็นแขนงเล็กๆ เป็นหลอดลมในปอด (Bronchioles)หลอดลมขั้วปอดมีส่วนประกอบเหมือนหลอดลม แต่มีขนาดเล็กกว่าและผนังก็จะบางลงไปเรื่อยๆ จนถึงขนาดเล็กและไม่มีกระดูกอ่อนเหลืออยู่ คงมีชั้นกล้ามเนื้อบางๆ ที่ปลายหลอดลมในปอดจะมีถุงลม (Alveoli)รวมกันอยู่เป็นพวงซึ่งเป็นที่แลกเปลี่ยนอากาศ ทั้งนี้เพราะที่ผนังถุงลมจะมีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงมาก


5.) ปอด (Lung)

Picture
               

        ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลังฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม  ระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน  หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ     





6.) เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
   

         เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด



3.  กระบวนการทำงานของระบบการหายใจ            

               การแลกเปลี่ยนแก๊สที่ถุงลม                     อากาศเมื่อเข้าสู่ปอดจะไปอยู่ในถุงลม ซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายลูกองุ่น ซึ่งปอดต่ละข้างจะมีถุงลมข้างละ 150 ล้านถุง แต่ะถุงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 0.1 มิลลิเมตร ถุงลมทุกอันจะมีหลอดเลือดฝอยมาห่อหุ้มไว้ การแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน และไอน้ำ ผ่านเข้าออกถุงลมโดยผ่านเยื่อบางๆของถุงลม    เลือดจากหัวใจมาสู่ปอด เป็นเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูง เมื่อมาสู่ถุงลมจะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยออกซิเจนในถุงลมจะแพร่เข้าสู่เส้นเลือด ขณะเดียวกันคาร์บอนไดออกไซด์ในเส้นเลือดจะแพร่เข้าสู่ถุงลม แล้วขับออกทางลมหายใจออก


                                                                                       ภาพที่ 1
Picture



ภาพที่ 2
Picture


ภาพที่ 3
Picture



4.  การดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจ

1.)  รักษาสุขภาพให้ดี  โดยการ รับประทานอาหาร  พักผ่อน  และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ2.)  แต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ  เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อป้องกันการเป็นหวัด3.)  หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ4.)  ปิดปากและจมูกเวลาไอ  หรือจาม5.)ไม่ใช้สิ่งของปนกับผู้อื่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ6.)  อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์  ไม่อับชื้นแออัด โดยเฉพาะสถานที่ที่มีควันบุหรี่  เพราะควันบุหรี่มีก๊าซพิษ คือไนโตรเจนไดออกไซด์  ทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพอง7.)  ระวังการกระแทกอย่างแรงกับอวัยวะการหายใจ ได้แก่หน้าอก และปอด8.)  ไม่เลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ไว้ในบ้าน เพราะขนสัตว์ก่อให้เกิดโรค

5. โรคของระบบการหายใจ และองค์ประกอบอื่น ๆที่มีผลต่อการหายใจ

โรคของระบบการหายใจ1. โรคถุงลมโป่งพอง ( ephysema)                  โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่เนื้อปอดถูกทำลาย ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ หอบเหนื่อย หายใจลำบากสาเหตุของโรค สาเหตุของถุงลมโป่งพอง ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ การสูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังอาจเกิดจาก การสูดดมสิ่งที่เป็นพิษ เช่น มลภาวะ ไอเสีย ฝุ่น สารเคมี เป็นระยะเวลานาน ๆ

Picture
2. โรคปอดจากการทำงาน

        โรคปอดดำ (Anthracosis) เกิดจากการสะสมผงถ่านคาร์บอนในปอดปริมาณมาก ซิลิโคซีส (Silicosisi) เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นของซิลิคอนไดออกไซด ์(Sillicon dioxide) เข้าไป ( silica ซิลิกา   สารประกอบชนิดหนึ่ง  สูตรเคมีคือ  SiO2 จุดหลอมเหลว  1,700 oC จุดเดือด  2,230 oC  เป็นของแข็งไม่มีสีมีโครงสร้างผลึก 5 รูปแบบ ในธรรมชาติอยู่ในรูปของทราย  คอวตซ์และหินบางชนิดใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ผงขัด  วัสดุทนไฟ และผลิตภัณฑ์เซรามิก  เป็นต้น)

แอสเบสโตซีส (Asbestosis) ซึ่งเกิดขึ้นจากการหายใจเอาฝุ่นในโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีกลิ่นและฝุ่นของสีน้ำยาเคลือบเงา 



Picture

       3. โรคหืด คือ โรคของหลอดลมที่มีการตีบหรืออุดตันอันเนื่องมาจากมีการอักเสบของหลอดลม มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม มีเสมหะที่เหนียวออกมามาก


โรคหืด มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ

 1.หลอดลมที่มีการตีบหรืออุดตันเป็นๆหายๆการตีบหรืออุดตันเกิดจาก กล้าเนื้อหลอดลมหดตัว เยื่อบุบวม มีการอักเสบ เสมหะมาก 2.มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมร่วมด้วย 3.หลอดลมมีสภาพไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น ควันต่างๆ กลิ่นที่แรง สารก่อภูมิแพ้


การไอ การจาม การหาวและการสะอึก 

อาการที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ  มีดังนี้ 1. การจาม เกิดจากการหายใจเอาอากาศที่ไม่สะอาดเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจึงพยายามขับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกมานอกร่างกาย โดยการหายใจเข้าลึกแล้วหายใจออกทันที  2. การหาว เกิดจากการที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในเลือดมากเกินไป จึงต้องขับออกจากร่างกาย โดย การหายใจเข้ายาวและลึก เพื่อรับแก๊สออกซิเจนเข้าปอดและแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือด  3. การสะอึก เกิดจากกะบังลมหดตัวเป็นจังหวะๆ ขณะหดตัวอากาศจะถูกดันผ่านลงสู่ปอดทันที ทำให้สายเสียงสั่น เกิดเสียงขึ้น  4. การไอ เป็นการหายใจอย่างรุนแรงเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในกล่องเสียงและหลอดลม ร่างกายจะมี การหายใจเข้ายาวและหายใจออกอย่างแรง .

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น